วันนี้ผมจะแนะนำคำว่า“ความเสี่ยง ( Risk )” ในมุมมองของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ แท้จริงแล้วความเสี่ยงคือความไม่แน่นอนนั่นเองโดยเราจะดูความไม่แน่นอนของผลตอบแทน (วิธีหาผลตอบแทนรายวัน=[ราคาวันนี้-ราคาเมื่อวาน]/ราคาเมื่อวาน) วิธีการหาค่าความเสี่ยงของหุ้นแต่ละตัวทำได้โดยการคิดผลตอบแทนรายวัน (รายสัปดาห์ หรือรายเดือนก็ได้) มาหลายๆวัน แล้วนำมาplot กราฟ หรือหาค่า SD (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ตัวอย่างเช่น
Date | Stock A | Stock B | ||
Price A | Return A | Price B | Return B | |
10/1/1999 | 897.37 | 25.22 | ||
10/8/1999 | 892.13 | -0.6% | 21.98 | -12.8% |
10/15/1999 | 839.65 | -5.9% | 23.06 | 4.9% |
10/22/1999 | 823.91 | -1.9% | 21.55 | -6.5% |
10/29/1999 | 865.89 | 5.1% | 24.35 | 13.0% |
11/5/1999 | 913.12 | 5.5% | 25.86 | 6.2% |
11/12/1999 | 934.11 | 2.3% | 29.09 | 12.5% |
11/19/1999 | 918.37 | -1.7% | 28.88 | -0.7% |
11/26/1999 | 944.6 | 2.9% | 29.74 | 3.0% |
12/3/1999 | 976.09 | 3.3% | 30.82 | 3.6% |
12/10/1999 | 1070.55 | 9.7% | 31.9 | 3.5% |
12/17/1999 | 1112.53 | 3.9% | 37.07 | 16.2% |
12/24/1999 | 1180.76 | 6.1% | 40.95 | 10.5% |
12/31/1999 | 1012.83 | -14.2% | 42.03 | 2.6% |
ตาราด้านบนนี้เกิดมาจากการนำข้อมูลราคาของหุ้น A และ หุ้น B มาจากฐานข้อมูล (อาจใช้ settrade / metastock) แล้วคำนวนหา return ของหุ้นในแต่ละช่วงเวลา จากนั้นนำมาสร้างกราฟ จะได้ดังรูปด้านล่าง
จะสังเกตุได้ว่าหุ้น B มีการแกว่งตัวแรงกว่าหุ้น A แสดงว่าหุ้น B นั่นมีความเสี่ยงมากกว่าหุ้น A แต่ในเชิงวิชาการแล้วการวัดความเสี่ยงด้วยสายตาแบบนี้อาจไม่เหมาะสมนัก การนำหลักการทางสถิติมาประยุกต์จะช่วยทำให้เราเปลี่ยนข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นเชิงปริมาณได้โดยการคำนวนค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) (หาได้จากสูตร stdev ของ excel) ของผลตอบแทน จากข้อมูลในตารางด้านบนสามารถนำมาคำนวน SD ของหุ้น A และ B ได้ 0.0615 และ 0.0801 ตามลำดับ
มาดูที่ผลตอบแทนเฉลี่ยกันบ้าง ค่านี้หาได้โดยนำผลตอบแทนมาหาค่าเฉลี่ย พบว่าค่าผลตอบแทนเฉลี่ยของหุ้น A และ หุ้น B ได้เท่ากับ 1.1% และ 4.3% ตามลำดับ
การนำไปใช้งาน
ถ้าดูจากค่าตัวเลขที่ได้มา ถ้าเราต้องเลือกหุ้น 1 ตัว จากข้อมูลที่ได้มา เราควรจะเลือกหุ้นตัวไหนดี? คำตอบคือ เราต้องเลือกหุ้นที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด ณ ความผลตอบแทนที่เท่ากัน วิธีการเปรียบเทียบง่ายมาก เราจะใช้หลักการหาค่าCV (Coefficient of variation) โดยใช้สูตร ค่า SD/ผลตอบเทนเฉลี่ย การตีความหมายค่า CV คือ ค่าความเสี่ยงต่อผลตอบแทน1หน่วย ค่ายิ่งน้อยยิ่งดี
จากตัวอย่างค่า CV ของหุ้น A และ B เท่ากับ 5.508 และ 1.861 ตามลำดับ ดังนั้นเราจึงควรจะเลือกหุ้น B ถึงแม้ว่าจะมีความเสี่ยงที่มากกว่าแต่ก็ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่าโดยดูจากค่า CV นั่นเอง